ซินซิง แพนด้ายักษ์วัยชราแห่งสวนสัตว์ฉงชิ่ง เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 38 ปี หรือเทียบเท่ากับมนุษย์ที่อายุ 110 ปี สวนสัตว์ฉงชิ่ง แถลงข่าวเศร้าว่า ซินซิง แพนด้ายักษ์ที่อายุมากที่สุดในโลก เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 38 ปี หรือเทียบเท่ากับมนุษย์ที่อายุ 110 ปี เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา
โดย ซินซิงเกิดในป่าของอำเภอเป่าซิง มณฑลเสฉวน
เมื่อปี 1982 ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับที่อาร์มันด์ เดวิด นักสัตววิทยาและนักพฤกษศาตร์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบแพนด้ายักษ์เมื่อปี 1869 ซึ่งสวนสัตว์ฉงชิ่งรับซินซิงมาเลี้ยงด้วยวัย 1 ขวบ และตลอดระยะเวลาที่มันอยู่ที่นี่ มันก็ให้กำเนิดลูกแพนด้าไปกว่า 153 ตัว และลูก ๆ เหล่านั้นก็กระจายไปทั่วประเทศจีน รวมถึง สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่นด้วย
จนกระทั่งวันที่ 21 ต.ค. ที่ผ่านมา ซินซิงเริ่มเบื่ออาหารและเซื่องซึม ก่อนที่จะเริ่มหายใจลำบาก ไอ ท้องโต และมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย แม้ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการแพทย์ และศูนย์วิจัยแพนด้ายักษ์หลายแห่งในจีน จะช่วยกันยื้อชีวิตแพนด้าชราตัวนี้ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ ก่อนมันจะจากไปในช่วงเที่ยงของวันที่ 8 ธ.ค.
โดยสาเหตุการตายคืออายุที่มากขึ้น ประกอบกับอวัยวะภายในที่ล้มเหลว ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบย่อยอาหารและทางเดินหายใจ
ทางการ มาเลเซีย ประกาศ สั่งซื้อ วัคซีนแอสตราเซเนกา 6.4 ล้านโดส เพื่อมาสมทบกับวัคซีนไฟเซอร์ที่สั่งมาก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม สำนักข่าว SCMP รายงานว่านาย มูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซียได้ประกาศว่า ประเทศมาเลเซียได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อวัคซีนแอสตราเซเนกา วัคซีนต้านโควิด-19 เป็นจำนวน 6.4 ล้านโดส และกำลังพูดคุยกับผู้ผลิตเพื่อสั่งซื้อวัคซีนเพิ่ม
ทางการระบุว่าพวกเขาได้สั่งซื้อวัคซีนอีก 12.8 ล้านโดส จากบริษัทผู้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์เมื่อเดือนที่แล้ว และการเข้าร่วมกับโครงการ COVAX โครงการขององค์การอนามัยโลกที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือทุกประเทศให้ได้รับโควิด-19
นายกมาเลเซียระบุว่า จากจำนวนวัคซีนที่พวกเขาได้รับในขณะนี้ถือเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเขาระบุว่าเขาจะเป็นกลุ่มคนแรกๆที่เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่าวัคซีนปลอดภัย ตามมาด้วยเจ้าหน้าที่แพทย์และคนชรา
คาดว่าประเทศมาเลเซียน่าจะสามารถจัดซื้อวัคซีนได้เพียงพอกับประชาชนราวๆ 26.5 ล้านคน หรือคิดเป็นจำนวน 80% ของประชากรทั้งหมด ขณะนี้ประเทศมาเลเซีย มียอดผู้ป่วยสะสมมากกว่า 95,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสแล้วอย่างน้อย 400 ศพ
EU อนุมัติ วัคซีนไฟเซอร์ อาจเริ่มแจกจ่ายวันอาทิตย์นี้
สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ทำการ อนุมัติ วัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนต้านโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดบางประเทศอาจเริ่มแจกจ่ายวันอาทิตย์นี้ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม สำนักข่าว BBC ของประเทศอังกฤษรายงานว่า องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้อนุมัติใช้วัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนต้านโควิด-19 และเตรียมเริ่มใช้กับประเทศสมาชิกในบางประเทศในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เลวร้ายลง
ซึ่ง EMA เคยระบุว่า วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพในการต้านโรคโควิด-19 ราวๆ 95% กับประชาชนในช่วงอายุ 16 ปี และมากกว่า ซึ่งประธานกรรมการบริหารของ EMA ได้ยืนยันว่าวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ประชาชนในกลุ่มประเทศ EU ปลอดภัย อย่างไรก็ตามพวกเขายังคงจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเพื่อวิจัยเพิ่มเติม เพื่อปกป้องประชาชนที่ฉีดวัคซีนต่อไป
โดยจำนวนประชากรภายในประเทศสมาชิก EU รวมแล้วมีเกือบ 450 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสภายในกลุ่มประเทศสมาชิกแล้วมากกว่า 3 แสนศพ
สิงคโปร์ เปิดเผยว่าพวกเขาได้รับ วัคซีนไฟเซอร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยถือเป็นชาติในแรกในประเทศเอเชียที่ได้รับวัคซีนชนิดดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม สำนักข่าว ชาแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า วัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนต้านโควิด-19 เดินทางถึงประเทศสิงค์โปร เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 21 ธันวาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นประเทศแรกในแทบทวีปเอเชียที่ได้รับวัคซีนชนิดดังกล่าว
นาย ออง เย คุง รัฐมนตรีกระทรวงขนส่งสิงค์โปรระบุว่า วัคซีนได้ถูกนำไปเก็บไว้ในห้องเย็นและเพื่อแจกจ่ายต่อไปในอนาคต ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงการขนส่งยืนยันว่า หน่วยจัดส่งได้รับการฝึกตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก
ซึ่งประเทศสิงค์โปรยังได้ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางแจกจ่ายวัคซีนในภูมิภาค โดยพวกเขาเชื่อว่าพวกเขามีประสิทธิภาพมากพอในช่วยแจกจ่ายวัคซีน และจะช่วยสร้างผลดีให้กับประเทศอื่นๆได้
ขณะที่ ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงค์โปร ได้กล่าวว่าเขารู้สึกยินดีกับการที่วัคซีนเดินทางมาถึงได้อย่างปลอดภัย และเขาระบุว่าวัคซีนเป็นเหมือน “ของขวัญ” ที่คนตั้งหน้าตั้งตารอ โดยก่อนหน้านี้ผู้นำสิงค์โปรเคยประกาศว่าประชาชนชาวสิงค์โปรทุกคนและผู้นำพักในประเทศจะได้รับฉีดวัคซีนฟรี ประเทศสิงค์โปรมียอดผู้ป่วยสะสมราวๆ 58,000 ราย และมีเสียชีวิตจากเชื้อไวรัส 29 ศพ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นถูกพบในหอพักแรงงานต่างชาติ
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง